วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 14 (04/02/57)


กิจกรรมการเรียนการสอน


การดูแลรักษาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

  • Down's syndrome

- รักษาตามอาการ
- แก้ไขความผิดปกติที่พบร่วมด้วย
- ให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน
- เน้นการดูแลแบบองค์รวม1. ด้านสุขภาพอนามัย
- บิดามารดาให้พาบุตรไปพบแพทย์ตั้งแต่เริ่มแรก ติดตามการรักษาเป็นระยะ
2. การส่งเสริมพัฒนาการ
- เด็กกลุ่มอาการดาวน์สามารถพัฒนาได้ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสม
3. การดำรงชีวิตประจำวัน
- ฝึกช่วยเหลือตนเองให้มาที่สุด
4. การฟื้นฟูสมรรถภาพ
- การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ เช่น การฝึกพูด กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด
- การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษาโดยจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล ( LEP )
- การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม เช่น การฝึกทักษะการดำรงชีวิตประจำวัน
- การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพโดยการฝึกอาชีพ
การปฏิบัติของบิดามารดา
 - ยอมรับความจริง
- เด็กกลุ่มอารดาวน์มีพัฒนาการเป็นขั้นตอนเช่นเดียวกับเด็กทั่วไป
- ให้ความรักและความอบอุ่น
- การตรวจภายใน ตรวจหามะเร็งปากมดลูกและเต้านม
- การคุมกำเนิดและการทำหมัน
- การสอนเพศศึกษา
- ตรวจโรคหัวใจ
การส่งเสริมพัฒนาการ
 - พัฒนาทักษะด้านต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์และภาษา
- สามารถปรับตัวและช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น
- สังคมยอมรับมากขึ้น ไปโรงเรียนร่วมหรือเรียนรวมได้
- ลดปัญหาพฤติกรรม
- คุณภาพชีวิตดีขึ้น

  • Autistic

ส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัว
- ครอบครัวมีบทบาทสำคัญที่สุดในกระบวนการดูและช่วยเหลือเด็กออทิสติก
ส่งเสริมความสามารถเด็ก
- การเสริมสร้างโอกาสให้เด็กได้เล่นของเล่นที่หลากหลาย
- ทำกิจกรรมที่หลากหลาย
การปรับพฤติกรรมและฝึกทักษะทางสังคม
 - เพิ่มพฤติกรรมที่เหมาะสมและลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
- การให้แรงเสริม
การฝึกพูด
 - โดยเฉพาะในรายที่มีพัฒนาการด้านภาษาและสื่อความหมายล่าช้า
- ถ้าเด็กพูดได้เร็ว โอกาสที่จะพัฒนาการด้านภาษาใกล้เคียงเด็กปกติก็จะเพิ่มมากขึ้น
- ลดการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสม
- ช่วยลดพฤติกรรมก้าวร้าวที่เกิดจากการไม่สามารถสื่อสารความต้องการได้
- การสื่อความหมายทดแทน ( AAC )
การสื่อความหมายทดแทน ( Augmentative and Alternative Communication ; AAC )
 - การรับรู้ผ่านการมองเห็น ( Visual Strategies )
- โปรแกรมการแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร ( Picture Exchange Communication System ; PECS )
- เครื่องโอภา ( Communication Devices )
- โปรแกรมปราศัย
การส่งเสริมพัฒนาการ
 - ให้เด็กมีพัฒนาการเป็นไปตามวัย
- เน้นในเรื่องการมองหน้าสบตา การมีสมาธิ การฟัง และทำตามคำสั่ง
- ส่งเสริมพัฒนาการด้านอื่นที่ล่าช้าควบคู่กับการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร สังคม และการปรับพฤติกรรม
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
 - เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อการ และทักษะทางความคิด
- แผนการจักการศึกษาเฉพาะบุคคล
- โรงเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน
ฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
 - ทักษะในชีวิตประจำวันและการฝึกฝนทักษะสังคม
- ให้เด็กสามารถทำได้ด้วยตนเองเต็มความสามารถโดยต้องการความช่วยเหลือน้อยที่สุด
การรักษาด้วยยา
 - Methylphenidate ( Ritalin ) ช่วยลดอาการไม่นิ่ง / ซน / หุนหันพลันแล่น / ขาดสมาธิ
- Risperidone / Haloperidol ช่วยลดอาการอยู่ไม่นิ่ง หงุดหงิด หุนหันพลันแล่น พฤติกรรมซ้ำๆ พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
- ยาในกลุ่ม Anticonvulsant ( ยากันชัก ) ใช้ได้ผลในรายที่มีพฤติกรรมทำร้ายตัวเอง
การบำบัดทางเลือก
 - การสื่อความหมายทดแทน ( AAC )
- ศิลปกรรมบำบัด ( Art Therapy )
- ดนตรีบำบัด ( Music Therapy )
- การฝังเข็ม ( Acupuncture )
- การบำบัดด้วยสัตว์ ( Animal Therapy )
พ่อแม่
 - ลูกต้องพัฒนาได้
- เรารักลูกของเราไม่ว่าเข้าจะเป็นอย่างไร
- ถ้าเราไม่รักและใครจะรัก
- หยุดไม่ได้
- ดูแลจิตใจและร่างกายของตนเองให้เข้มแข็ง
- ไม่กล่าวโทษตนเองหรือคู่สมรส
- ควรหันหน้าปรึกษากันในครอบครัว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น