วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 16 (18/02/57)


อาจารย์ให้มารับข้อสอบ



บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 15 (11/02/57)


** ไม่ได้เข้าเรียน **

เนื่องจากติดสอบวิชาการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย


บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 14 (04/02/57)


กิจกรรมการเรียนการสอน


การดูแลรักษาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

  • Down's syndrome

- รักษาตามอาการ
- แก้ไขความผิดปกติที่พบร่วมด้วย
- ให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน
- เน้นการดูแลแบบองค์รวม1. ด้านสุขภาพอนามัย
- บิดามารดาให้พาบุตรไปพบแพทย์ตั้งแต่เริ่มแรก ติดตามการรักษาเป็นระยะ
2. การส่งเสริมพัฒนาการ
- เด็กกลุ่มอาการดาวน์สามารถพัฒนาได้ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสม
3. การดำรงชีวิตประจำวัน
- ฝึกช่วยเหลือตนเองให้มาที่สุด
4. การฟื้นฟูสมรรถภาพ
- การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ เช่น การฝึกพูด กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด
- การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษาโดยจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล ( LEP )
- การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม เช่น การฝึกทักษะการดำรงชีวิตประจำวัน
- การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพโดยการฝึกอาชีพ
การปฏิบัติของบิดามารดา
 - ยอมรับความจริง
- เด็กกลุ่มอารดาวน์มีพัฒนาการเป็นขั้นตอนเช่นเดียวกับเด็กทั่วไป
- ให้ความรักและความอบอุ่น
- การตรวจภายใน ตรวจหามะเร็งปากมดลูกและเต้านม
- การคุมกำเนิดและการทำหมัน
- การสอนเพศศึกษา
- ตรวจโรคหัวใจ
การส่งเสริมพัฒนาการ
 - พัฒนาทักษะด้านต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์และภาษา
- สามารถปรับตัวและช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น
- สังคมยอมรับมากขึ้น ไปโรงเรียนร่วมหรือเรียนรวมได้
- ลดปัญหาพฤติกรรม
- คุณภาพชีวิตดีขึ้น

  • Autistic

ส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัว
- ครอบครัวมีบทบาทสำคัญที่สุดในกระบวนการดูและช่วยเหลือเด็กออทิสติก
ส่งเสริมความสามารถเด็ก
- การเสริมสร้างโอกาสให้เด็กได้เล่นของเล่นที่หลากหลาย
- ทำกิจกรรมที่หลากหลาย
การปรับพฤติกรรมและฝึกทักษะทางสังคม
 - เพิ่มพฤติกรรมที่เหมาะสมและลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
- การให้แรงเสริม
การฝึกพูด
 - โดยเฉพาะในรายที่มีพัฒนาการด้านภาษาและสื่อความหมายล่าช้า
- ถ้าเด็กพูดได้เร็ว โอกาสที่จะพัฒนาการด้านภาษาใกล้เคียงเด็กปกติก็จะเพิ่มมากขึ้น
- ลดการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสม
- ช่วยลดพฤติกรรมก้าวร้าวที่เกิดจากการไม่สามารถสื่อสารความต้องการได้
- การสื่อความหมายทดแทน ( AAC )
การสื่อความหมายทดแทน ( Augmentative and Alternative Communication ; AAC )
 - การรับรู้ผ่านการมองเห็น ( Visual Strategies )
- โปรแกรมการแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร ( Picture Exchange Communication System ; PECS )
- เครื่องโอภา ( Communication Devices )
- โปรแกรมปราศัย
การส่งเสริมพัฒนาการ
 - ให้เด็กมีพัฒนาการเป็นไปตามวัย
- เน้นในเรื่องการมองหน้าสบตา การมีสมาธิ การฟัง และทำตามคำสั่ง
- ส่งเสริมพัฒนาการด้านอื่นที่ล่าช้าควบคู่กับการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร สังคม และการปรับพฤติกรรม
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
 - เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อการ และทักษะทางความคิด
- แผนการจักการศึกษาเฉพาะบุคคล
- โรงเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน
ฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
 - ทักษะในชีวิตประจำวันและการฝึกฝนทักษะสังคม
- ให้เด็กสามารถทำได้ด้วยตนเองเต็มความสามารถโดยต้องการความช่วยเหลือน้อยที่สุด
การรักษาด้วยยา
 - Methylphenidate ( Ritalin ) ช่วยลดอาการไม่นิ่ง / ซน / หุนหันพลันแล่น / ขาดสมาธิ
- Risperidone / Haloperidol ช่วยลดอาการอยู่ไม่นิ่ง หงุดหงิด หุนหันพลันแล่น พฤติกรรมซ้ำๆ พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
- ยาในกลุ่ม Anticonvulsant ( ยากันชัก ) ใช้ได้ผลในรายที่มีพฤติกรรมทำร้ายตัวเอง
การบำบัดทางเลือก
 - การสื่อความหมายทดแทน ( AAC )
- ศิลปกรรมบำบัด ( Art Therapy )
- ดนตรีบำบัด ( Music Therapy )
- การฝังเข็ม ( Acupuncture )
- การบำบัดด้วยสัตว์ ( Animal Therapy )
พ่อแม่
 - ลูกต้องพัฒนาได้
- เรารักลูกของเราไม่ว่าเข้าจะเป็นอย่างไร
- ถ้าเราไม่รักและใครจะรัก
- หยุดไม่ได้
- ดูแลจิตใจและร่างกายของตนเองให้เข้มแข็ง
- ไม่กล่าวโทษตนเองหรือคู่สมรส
- ควรหันหน้าปรึกษากันในครอบครัว

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 13 (28/01/57)


** สอบกลางภาคในคาบเรียน **


บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 12 (21/01/57)


กิจกรรมการเรียนการสอน

  • พัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
          พัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่ โดยทั่วไปพัฒนาการปกติแบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ พัฒนาการด้านร่างกาย พัฒนาการด้านสติปัญญา พัฒนาการด้านจิตใจ - อารมณ์ พัฒนาการด้านสังคม
          เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ หมายถึงเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากวาเด็กปกติในวัยเดียวกัน พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านหรือทุกด้าน และพัฒนาการล่าช้าในด้านหนึ่งอาจส่งผลในพัฒนาการในด้านอื่นล่าช้าด้วยก็ได้

ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
- ปัจจัยทางด้านชีวภาพ เกี่ยวข้องกับลักษณะทางพันธุกรรม
- ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด การติดเชื้อ สารพิษ สภาวะทางโภชนาการ
- ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด การเกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะคลอด
- ปัจจัยทางด้านสภาวะแวดล้อมหลังคลอด สภาวะหลังคลอด ปัจจัยด้านระบบประสาท และสภาพแวดล้อมส่งผลร่วมต่อพัฒนาการของเด็ก

สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. โรคทางพันธุกรรม
2. โรคของระบบประสาท
3. การติดเชื้อ
4. การผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม
5. ภาวะแทรกซ้อนระยะเกิด
6. สารเคมี
7. การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร
อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ มีพัฒนาการล่าช้าอาจจะพบมากกว่า 1 ด้าน
แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ1. การซักประวัติ
2. การตรวจร่างกาย
3. การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
4. การประเมินพัฒนาการ

แนวทางในการดูแลรักษา
1. หาสาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการล่าช้า
2. การตรวจค้นหาความผิดปกติร่วม
3. การรักษาสาเหตุโดยตรง
4. การส่งเสริมพัฒนาการ
5. ให้คำปรึกษากับครอบครัว

สรุปขั้นตอนในการดูแลเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. การตรวคิดกรองพัฒนาการ
2. การตรวประเมินพัฒนาการ
3. การให้การวินิจฉัยและสาเหตุ
4. การให้การรักษาและส่งเสริมพัฒนาการ
5. การติดตามและประเมินผลการรักษาเป็นระยะ

บริการที่สำคัญสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. การตรวจการได้ยิน
2. การให้คำปรึกษาครอบครัว
3. การจัดโปรแกรมการศึกษา
4. บริการทางการแพทย์
5. บริการทางการพยาบาล
6. บริการด้านโภชนาการ
7. บริการด้านจิตวิทยา
8. กายภาพบำบัด
9. กิจกรรมบำบัด
10. อรรถบำบัด
  • อาจารย์ให้วาดรูปตามแบบ


  • อาจารย์ให้นำเสนองานต่อให้เสร็จอีก 2 กลุ่ม มีเรื่อง ดาวซินโดม และ ออทิสติก
  • อาจารย์นัดสอบในสัปดาห์หน้า

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 11 (14/01/57)


ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากสถานการณ์บ้านเมือง
หมายเหตุ ต้องหาเวลาชดเชย 1 วัน

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 10 (07/01/57)


กิจกรรมการเรียนการสอน

  • อาจารย์ให้พรีเซ็นงานและแจกใบประเมินการรายงานของเพื่อนแต่ละกลุ่ม
  • อาจารย์แจกชีส พัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
กลุ่ม 1 สมองพิการ
สาเหตุ1. มีความผิดปกติเกิดขึ้นตั้งแต่เด็กอยู่ในครรภ์มารดา เช่น มารดาเป็นโรคหัดเยอรมัน มารดาขาดอาหารอย่างรุ่นแรง เป็นต้น เป็นผลให้สมองมีการเจริญเติบโตผิดปกติ
2. เด็กคลอดยาก
3. มีอาการดีซ่านอย่างรุ่นแรงในระยะหลังคลอด
4. เป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคทางสมอง
อาการ- มีพัฒนาการช้ากว่าเด็กปกติ
- กล้ามเนื้อจะเกร็งตัวมาก
- มีความเคลื่อนไหวผิดปกติ

กลุ่ม 2 เด็ก LD
สาเหตุ- การได้รับบาดเจ็บทางสมอง
- พันธุกรรม
- สิ่งแวดล้อม
ประเภทของ LD1. LD ด้านการเขียนสะกดคำ
2. LD ด้านการอ่าน
3. LD ด้านการคำนวณ
4. LD หลายๆ ด้านรวมกัน
อาการ
- แยกแยะขนาดสีและรูปร่างไม่ออก
- มีปัญาหาความเข้าใจเกี่ยวกับเวลา
- เขียน/อ่านตัวอักษรสลับซ้ายขวา
- สมาธิไม่ดี
- ทำงานช้า
- ฟังคำสับสน

กลุ่ม 3 สมาธิสั้น ไฮเปอร์
สาเหตุเกิดจากความผิดปกติของสมองแต่ระบุไม่ได้ว่าเกิดจากสาเหตุใดที่ทำให้สมองผิดปกติ
อาการ
1. อาการซนมากกว่าปกติ
2. อาการสมาธิสั้น หรือไม่มีสมาธิ
3. อาการหุนหันพลันแลน
การักษา1. จัดตารางชีวิตให้เป็นระบบ
2. เลือกกิจกรรมให้เหมาะสม
3. ทำงานบ้าน
4. สอนแบบค่อยเป็นค่อยไป
5. ให้เวลา
6. จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม